การส่งเสริมความตระหนักรู้ในหน้าที่พลเมืองด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงบริการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการศึกษาที่เน้นการปลูกฝังจิตสำนึกในหน้าที่พลเมืองผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงของผู้เรียนตามแนวทางการเรียนรู้เชิงบริการหรือการเรียนรู้โดยการบริการสังคมด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนในการปัญหาหรือพัฒนาชุมชน โดยนำเอาองค์ความรู้ ทักษะที่ได้ในชั้นเรียน นำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง. วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีการ Service – Learning คือการสร้างเสริมความตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่พลเมืองและส่งเสริมให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนและสังคม. การที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีที่ช่วยสร้างสรรค์ชุมชนและสังคมได้จำเป็นจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยดึงศักยภาพและสร้างเสริมคุณลักษณะของผู้เรียนให้เห็นถึงความสำคัญ มีความตระหนักรู้และมีจิตสำนึกในฐานะพลเมืองดี. วิธีการเรียนรู้เชิงบริการ (Service - Learning) เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สามารถสร้างเสริมคุณลักษณะดังกล่าว โดยยึดหลักในการจัดการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการ (P -Preparation) หรือการศึกษาปัญหาหรือความต้องการของชุมชน ขั้นปฏิบัติ (A - Action) หรือการจัดทำโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และขั้นสะท้อนคิด (R - Reflection) หรือการประเมินผลการดำเนินงาน วิธีการเรียนรู้เชิงบริการนั้นสามารถบูรณาการเข้ากับทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น โดยเฉพาะระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทและความต้องการของชุมชน โดยเป้าประสงค์ที่ต้องการคือการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชนโดยพลเมือง.
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2552). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กิ่งกาญจน์ กลิ่นจันทร์.(2556). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการบริการสังคมเรื่องปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาและธรณีประวัติ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 6 (3), 80-91.
กิตติยา ผากงดำ.(2550). ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมที่มีต่อความตระหนักในการรับใช้สังคม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อ การเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโพนแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เฉลิมชัย มนูเสวต.(2543).การพัฒนารูปแบบวิชาที่ใช้ในการเรียนการสอนเชิงบริการในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์.(2557). ผลการใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ.(2554).ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย (Citizenship in Thailand).(ออนไลน์).(อ้างเมื่อ20 มกราคม 2563) จาก http://www.kpi.ac.th /media_kpiacth /pdf/M10_452.pdf
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล มณีงาม.(2547). การพัฒนาโปรแกรมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสาท เนื่องเฉลิม.(2558). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการบริการสังคมสำหรับ นิสิตครูวิทยาศาสตร์” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(19), 30–39.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล.(2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education).กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ปาริชาติ ประเสริฐสังข์และประสาท เนื่องเฉลิม.(2555). การเรียนการสอนที่เน้นการบริการสังคม,วารสารวิชาการ. 15(1), 36-49.
พฤทธิสาร ชุมพล, ม.ร.ว. และ เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา (บรรณาธิการ) (2551). คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรินทร์ เสตะจันทร์.(2550). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม (Service Learning) ที่มีต่อการปรับตัวเข้ากับสังคมในมหาวิทยาลัยของ นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัน กรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พันทิพย์ เหล่าหาโคตร.(2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และคณะ.(2544).การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม = Service learning.รายงานการวิจัยสกศ.
Billing, S. H. (2006). Lessons from Research on Teaching and Learning : Service-learning as effective instruction. New York : State Farm Companies Foundation.
Hua, C. W. & Wan, K. E. (2011). Civic Mindedness: Components, Correlates and Implications for the Public Service. (Online). (2020, January 20). Available: http://www.cscollege.gov.sg/Knowledge/Pages/Civic-Mindedness-Components,-Correlates and-Implications-for-the-Public-Service.aspx