การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 The School and Community-Based Administration Affecting School Effectiveness Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 342 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้สอน จำนวน 272 คน จากจำนวน 70 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.530 - 0.718 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Sample การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก
2. การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
ประสิทธิผลโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก - ประสิทธิผลโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตาม สถานภาพ ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียน ที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
- การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ประสิทธิผลโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตาม สถานภาพ ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียน ที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
- . การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
อำนาจพยากรณ์ของการบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมมี 3 ตัวแปร ได้แก่ ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน และด้านหลักการมีส่วนร่วมที่ระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- แนวทางการบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานกับประสิทธิผลโรงเรียนมี 3 ด้าน คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการกระจายอำนาจและด้านหลักการบริหารตนเอง
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กมลกานต์ บุญน้อม. (2559). ปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
กรกมล เพิ่มผล. (2554). การบริหารโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนเทศบาล
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลธัญบุรี.
ขวัญพิชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
จันทบุรี. คม.(การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วีรยุทธ เสาแก้ว. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
ฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณ.ปีที่ 12 (ฉบับที่ 2), หน้า 59.