ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

Kittichai Arthan
เพลินพิศ ธรรมรัตน์
เยาวลักษณ์ สุตะโคตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา  เปรียบเทียบ  ศึกษาความสัมพันธ์  ศึกษาอำนาจพยากรณ์  และหาแนวทางการพัฒนา  ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน  จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564  จำนวน  353 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 98 คน ครูผู้สอน  จำนวน  255 คน จากจำนวน  98  โรงเรียน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน  และสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์  คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.239 - 0.690 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples  การทดสอบค่าเอฟ (F-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1.     ปัจจัยการบริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2.     ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  3.      ปัจจัยการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

  4.   ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน              

  5. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก 

  6. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  คือ ด้านภาวะผู้นำ (X1)  ด้านงบประมาณ (X2)  ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X5)  โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.9 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ  ±0.20345

  7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน คือ 
                     1) ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงานในโรงเรียน
                          2) ด้านงบประมาณ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมีระบบบัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน  มีการวางแผนการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน 

                      3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมให้มีการอบรมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการจัดการเรียนการสอน


 


 


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุณา ภู่มะลิ.ทวีศิลป์ กุลนภาดล, ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และ นิวัตต์ น้อยมณี (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออก.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), 158-172.

ฐิดาภา จันปุ่ม. (2564).ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดวงเดือน แก้วฝ่าย. (2558) ปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ศาชล บำรุงภักดี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

พิพัฒน์พงษ์ วิเศษ. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สรคุปต์ บุญเกษม, สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ และวินัย รังสินันท์. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(1): 217-230.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

อัฒนศักดิ์ สิทธิ. (2561).องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.