ประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ภาคิน รูปเหมาะ
ไชยา ภาวะบุตร
วรกัญญาพิไล แกระหัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ และเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียน และหาแนวทางการยกระดับการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 จำนวน 323 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 58 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบง่ายโดยการจับสลากแบบใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแนวทางการยกระดับการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples และการทดสอบเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ประสิทธิผลของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก

  2. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. ประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตามสถานที่ตั้งของโรงเรียนที่แบ่งเป็นภูมิภาค โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                        5. แนวทางการยกระดับประสิทธิผลของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีเจตคติทางบวก ควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เหมาะสมและต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ควรมีการกำหนดนโยบาย โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนตนเองในการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี และมีโอกาสแสดงความสามารถที่ตนเองภาคภูมิใจ และด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียนผู้บริหารและครูทุกคนต้องร่วมกันวางแผน ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอย่างเป็นกัลยาณมิตร ผู้บริหารควรมีภาวะผู้นำ มีความยุติธรรม รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบุคลากร มีทักษะในการสื่อสาร การรับรู้ปัญหาร่วมกัน และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณรงฤทธิ์ นามเหลา. (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปัทมา ประทุมสุวรรณ. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พงษ์พิพัฒน์ นารินรักษ์. (2563). ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21 : ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอนคณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 1–14.

รัตนา นาคมุสิก. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. (2563). คู่มือนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร ปีการศึกษา 2563. มุกดาหาร.

วริศรา สุขสุวรรณ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชพงษ์ อุ้ยวงค์. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายในการสัมมนาวิชาการ. มหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน 20 ธันวาคม 2557.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.