การศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ เรื่อง ศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1

Main Article Content

สุภสิทธิ์ พันแน่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่น และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยใช้ศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการชุมชนในโครงการ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยศิลปะผ้าพิมพ์และสวดลายจากใบไม้ (Eco print)” ณ กลุ่มหัตถกรรม ตำบลบ้านลาด อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่นมี 3 ขั้นตอนสำคัญ  ได้แก่ ขั้นที่ 1 การจัดเตรียม ขั้นที่ 2 การวางใบไม้บนผืนผ้า และขั้นที่ 3 การม้วนใบไม้บนผืนผ้า ซึ่งศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่นนอกจากจะเป็นงานศิลปะแล้วยังสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ ส่วนความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยใช้ศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่น พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจระดับมาก โดยเฉพาะเนื้อหามีความละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์  โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับมาก 4.55 และความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดกิจกรรมเพื่อการกระบวนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ โดยใช้ศิลปะผ้าพิมพ์สีและลวดลายจากใบไม้ในท้องถิ่น โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับมาก 4.63

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Rajabhat Maha Sarakham University