การวิจัยเพื่อพัฒนา TEAK MODEL เป็นกระบวนการขับเคลื่อน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา TEAK MODEL เป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และเพื่อศึกษาผลของการใช้ TEAK MODEL เป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนปางมะผ้าพิทยาสรรพ์ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงจรปฏิบัติการ โดย TEAK MODEL ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การทำงานร่วมกันทุกฝ่ายงาน 2) การจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ 3) การดำเนินการตามแผนในทุกด้าน และ 4) การสะท้อนผลการดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการกำกับติดตามการดำเนินการ แบบบันทึกการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ 0-7 และแบบรายงานวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอย่างง่าย คือค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนา TEAK MODEL เป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพจะสำเร็จผลได้จำเป็นต้องมีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจในกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
การแนะนำแนวทางการสังเกตชั้นเรียนโดยเน้นการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและแนวทางการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการแนะนำแนวทางการบันทึกสะท้อนถึงการจัดการเรียนรู้หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผลการใช้ TEAK MODEL เป็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพพบว่าครูสามารถสร้างงานวิจัยในชั้นเรียนของตนเองได้ และการใช้ TEAK MODEL ช่วยให้การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาได้
Article Details
References
ชรอยวรรณ ประเสริฐผล. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูใหม่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ตะวัน สื่อกระแสร์. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
วรรณพร ศิลาขาว และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและตัวแปรส่งผ่านที่มีผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 83-100.
สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. (2557). รายงานทีดีอาร์ไอ ฉบับที่ 103 เดือนพฤษภาคม 2557. การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สิรินภา กิจเกื้อกูล (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพรชบูรณ์: จุลดิสการพิมพ์.
อมรา จงมีสุข (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
เรวดี ชัยเชาวรัตน์. (2558). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). ในบังอร เสรรีรัตน์, ชาริณี ตรีวรัญญู และเรวดี ชัยเชาวรัตน์ (บ.ก.), 9 วิถีสร้างลูกศิษย์ เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการหนุนเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน สำนักงานงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.).
Calcasola. (2009). Episode-based performance measurement and payment: Making it a reality. Health Aff (Millwood), 28(5),1406–1417.
Harris, A. (2003). Teacher Leadership as Distributed Leadership. School Leadership and Management, 23(3), 313-324.
Kenoyer, F.E. (2012). Case Study of Professional Learning Community Characteristics in an Egyptian private School. Doctor’s Dissertation. College of Education, Columbia International University.
Leonard, J.J. (2003). The physical properties of compost. Compost. Science & Utilization, 11(3), 238–264.
Office of Education. (2014). The professional Learning of Teachers. Retrieved February 20, 2021, from https://imrtriads.wikispaces.com/file/view/ Professional_of%2520_Teachers.pdf.
Office of The National Economic and Social Development. (2017). National Economic and Development Plan. No.12 (2017 - 2021). Bangkok: Sood Pisan.
Phuangsomjit, C. (2017). Professional learing community and guidelines for application in education institutions. STOU Education Journal, 10(1), 34-41.
Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. and Thomas, S. (2006). Professional Learning Communities: A review of the literature. Journal of Education Change. 7: 221-258.
Ullman, E. (2009). How to Create a Professional Learning Community.
Retrieved February 20, 2021, from https://www.edutopia.org/professional-learning-communities-collaboration-how-to.
Verbiest, E. (2008). Sustainable School Development: Professional Learning Communities.Netherland: Fontys University.