การศึกษาการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 คำสำคัญ : การบริหารงานทั่วไป, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน , ผู้บริหารสถานศึกษา

Main Article Content

เต็มเดช ไชยสำโรง
ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง
สมชัย พุธทา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษา
2) ศึกษาระดับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ3) ศึกษาการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษา
ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา70 แห่ง จากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น
ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของตัวแปรด้านการบริหารงานทั่วไปของผู้บริหาร
สถานศึกษาได้เท่ากับ 0.95 และตัวแปรด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอย
เชิงพหุคูณแบบขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ใน
ระดับมากที่สุด 2) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ3) ผลการวิเคราะห์
การบริหารงานทั่วไปของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ด้านแนวทาง
การจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลงโทษนักเรียน ด้านงานกิจการนักเรียน ด้านการรับนักเรียน ด้านการจัดทำสำมะโนผู้เรียนส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ประสิทธิภาพการทำนาย ร้อยละ 73.30 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ถดถอยเชิงพหุ
ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน  Ẑ = .431 (Z4) + .253 (Z3) + .189 (Z2) + .091 (Z1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2),: 31-41.

กรมสุขภาพจิต. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: เรนัสอิมเมจกรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: อิมเมจกรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ (2544). คู่มือฝึกอบรมวิทยากรการปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. มปท.: กระทรวงสาธารณสุข.

จิตราพร สุทธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศ.บ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉัตรชัย ตันตรานนท์. (2562). การศึกษาแนวทางการพัฒนางานบริหารทั่วไปโรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นาวี กรีธาทรัพย์. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดทรงธรรม สังกัดเทศบาลเมืองพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์. (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพครั้งที่ 10) กรงเทพฯ: สุวีริยาสาสน

ปรวรรณ์รัตน์ พิมพรม. (2559). การบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 8-9 ธันวาคม 2559.

ปิยะนันท์ เอี่ยมพิจิตร และคณะ (2565). ความสัมพันธ์ชุมชนต่อการบริหารงานทั่วไปของบุคลากรทาง การศึกษาโรงเรียนบ้านบางเบ้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข.

ฝ่ายสารสนเทศทางการศึกษา. (2565). สารสนเทศทางการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.

พงศ์เทพ กันยะมี (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 297-317.

เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2547). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (Statistics For Research and SPSS Application Techniques). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กลุ่มนโยบายและแผน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 9 กุมพาพันธ์ 2565). จาก https://chonburiarea3.go.th/year-report/.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารการนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและ สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2560). สธ.เชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดกิจกรรม “จ้างกิ๋น จ้างไจ้ ใส่ใจสุขภาพ ไม่หลงเชื่อโฆษณาโอ้อวดเกินจริง” เนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 กุมพาพันธ์ 2565). จาก http://thainews.prd.go.th/website_hth /news/news_detail/WNSOC6104290010041

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

อนุเดช บ้านสระ (2564). แนวทางการบริหารงานทั่วไปของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยประทุมธานี, 13(2), 185-202.

Conbach, L. Joseph. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill

Krejcie, Robert V. and Daryle, W. Morgan, (1970). Determining Size for Research Activities. Educational Psychological Measurement, 30(3), 608-A.