ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการนิเทศภายในกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

Main Article Content

ประวิทย์ ปราศจาก
สมชัย พุทธา
ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับเทคนิคการนิเทศภายในของสถานศึกษาสำนักงาน       เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1  2) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1  3)เพื่อศึกษาเทคนิคการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 ประกอบด้วย  โรงเรียนจำนวน 114 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 โรงเรียน จำนวน 92 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา  ข้าราชการครู จำนวนทั้งสิ้น 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับประยุกต์ตามแนว ระดับตามแนวคิดของ ลิเคอร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเปียร์สัน


            ผลวิจัยพบว่า


  1. ระดับเทคนิคการนิเทศภายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
    ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านสูงที่สุด ได้แก่ การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อนอยู่ในระดับมาก อันดับท้ายสุด ได้แก่ เทคนิคการนิเทศแบบคลินิกอยู่ในระดับมาก

  2. ระดับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านสูงที่สุดได้แก่ ใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก อยู่ในระดับมากที่สุด และอันดับท้ายสุด ได้แก่ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ อยู่ในระดับมาก

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการนิเทศภายในกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับสูงที่สุด ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันในทางบวก หรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : เทคนิคการนิเทศภายใน , กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, มาตรฐานคุณภาพการศึกษา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด .(2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

รัชนก มีชูขันธ์ และสมใจ สืบเสาะ.(2565). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารงานวิชาการ. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการจัดการ, 10(2), 1-12.

วัลลภา ชูธง .(2565). การนิเทศแบบคลินิกในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนคลองหนองใหญ่. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 8 เมษายน 2566). จาก www.slideshare.net/wallapa-34252414.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1.แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ปีพ.ศ.2563-2565. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 6 มกราคม 2566). จาก http://rayongpeo.go.th/attachments/article/

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

หน่วยการศึกษานิเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Ikot Osurua & Akwa Ibom (2020) Teaching And Learning With Media Technology. Akwa Ibom State, Nigeria, Novateur.

Jaewoo Choi & Woonsun Kang ( 2019) Sustainability Of Cooperative Professional Development: Focused On Teachers’ Efficacy. Korea: Gyeongsan-si, Gyeongsangbuk-do.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R., (1993). New Way of Managing Conflict. New York: McGraw-Hill.

Yang DONG, et al. (2019). Is the Student-Centered Learning Style More Effective Than the Teacher-Student Double-Centered Learning Style in Improving Reading Performance. Learning Styles and Reading Comprehension, November(10), 1-10.