การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสติ์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย Anuban Udon Thani School Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

ดารา วิมลอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง    2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง โดยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และศึกษาแนวทางการสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระยะที่ 2  การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และระยะที่ 3  ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี  โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เด็กปฐมวัยจำนวน 27 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน  วันละ 30 – 40  นาที เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดเจตคติ และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมเจตคติทางคณิตศาสตร์    ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ (One Group Pretest - Posttest Design) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent)


         


 


            ผลการวิจัย  พบว่า


  1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและหลักการ  2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  3) ขั้นตอนการจัดประสบการณ์   จำนวน 5 ขั้นตอน  ได้แก่  1. ขั้นนำเสนอสถานการณ์  2. ขั้นระดมความคิดกลุ่มใหญ่  3. ขั้นปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มย่อย   4. ขั้นนำเสนอผลงาน  5. ขั้นประเมิน และสรุป  4) การประเมินผล 

  2. ผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย

                 2.1 ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  27.67  คิดเป็นร้อยละ 92.23  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80  เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้


                 2.2  ความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย   หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


      2.3  เด็กปฐมวัย มีเจตคติต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แนวดำเนินงานโครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต “เด็กปฐมวัย”

สำหรับโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดและโรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่การศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: เอกสารอิเลคทรอนิคส์.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สาราเด็ก.

จิราพร นิลมุก. (2560) การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยโดยการจัด

ประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม.

เชวง ซ้อนบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH -3C เพื่อพัฒนาทักษะ

พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้. วารสารครุทัศน์

(มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี), 19(9), 67-74.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ . (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค (2558) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ และ

กระบวนการทางคณิตศาสตร์ สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วรวรรณ เหมชะญาติ.(2551). หลักสูตรอนุบาลจุฬาลักษณ์สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตรา จันทร์ศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีณา ประชากุล ประสาท เนื่องเฉลิม. (2553). รูปแบบการเรียนการสอน. มหาสารคาม :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์: การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cobb, P. (1994). “Where is the Mind ? Constructivist and Sociocultural Perspectives

on Mathematical Development,” Educational Researcher.

Doorman, M., Drijvers, P., Dekker, T., Van den Heuvel-Panhuizen, M. De Lange, J., and

Wijers, M. (2007). Problem Solving as a Challenge for Mathematics Education in The Netherlands. J.ZDM Mathematics Education. 39 (5-6): 405-418.

Fauzan, A., Slettenhaar, D, & Plomp, T. (2002). Traditional mathematics education

vs. realistic mathematics education: Hoping for changes. In Proceedings of the 3rd international mathematics education and society conference (pp. 1-4). CiteSeerX. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.470.6981&rep=rep1&type=pdf

Gravemeijer, K. (1997). Solving word problems, a case of modeling? Learning and

Instruction, 7(4), 389-397. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/ S095947529700011X

Gravemeijer, K., & Terwel, J. (2000). Hans Freudenthal: A mathematician on didactics

and curriculum theory. Journal of Curriculum Studies, 32(6), 777-796.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. (7 th ed.). Boston:

Allyn & Bacon

Meyer, M. R. (2001). Representation in realistic mathematics education. In A. A. Cuoco,

& F. R. Curcio (Eds.), The roles of representation in school mathematics (pp. 238-250). NCTM

Van den Heuvel-Panhuizen. (2000). Mathematics Education in the Netherlands.

Retrieved August 24, 2014, from https://www.fi.uu.ni/en/rme/TOURdef+ref.