การศึกษาการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย และการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครอง โรงเรียนภูมิพิชญ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

สุรัตน์ จงกลนี
กัลยารัตน์ หัสโรค์
นิทรา ช่อสูงเนิน
สมชาย พาชอบ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนภูมิพิชญ จังหวัดอุดรธานี และ 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครอง โรงเรียนภูมิพิชญ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคือ 1) เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2-3 จำนวน 173 คน 2) ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 173 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกเฉพาะเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-6 ปี ตามเกณฑ์อายุในแบบประเมินพัฒนาการด้านความคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กวัยก่อนเรียน (แบบ MUEF-101) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (EF) ในเด็กวัยก่อนเรียน (แบบ MU.EF-101) 2) แบบสอบถาม เรื่อง การส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัยพบว่า ระดับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองโดยรวม อยู่ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการจัดการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง กลุ่มที่ 2. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

จิระพร ชะโน. (2562). การคิดเชิงบริหารกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 7-17.

ดวงฤทัย เสมคุ้มหอม, ปรียสลิล ไชยวุฒิ, สุดารัตน์ วันงามวิเศษ และธมกร เธียรภูริเดช. (2563). การส่งเสริมาการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(10), 15-31.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล, ปนัดดา ธนเศรษฐกร และอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. (2560). กำลังพัฒนาและการประเมินเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการประเมินเครื่องมือในการคิดของผู้บริหารในช่วงต้นวัยเด็ก. นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหิดลมหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). แบบประเมิน EF เด็กปฐมวัย คัดกรองความบกพร่องทางอารมณ์ สู่แนวทางใหม่พัฒนาการเด็กไทย. นครปฐม: สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

โรงเรียนภูมิพิชญ. (2565). ข้อมูลนักเรียนประจำปีการศึกษา 2565. อุดรธานี: โรงเรียนภูมิพิชญ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการสดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาวดี รอดพาล และเพ็ญศรี แสวงเจริญ. (2564). การศึกษาการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย และการส่งเสริมการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(3), 123-131.

สุภาวดี หาญเมธี. (2560). ทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตสู่ความสำเร็จ Executive Functions=EF. กรุงเทพฯ: สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป). [ออนไลน์]. ค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2566 จาก https://www.rsl.co.th/.