ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบุคลากรครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2

Main Article Content

ธภกฤศ จันทสโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยด้านผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหาบทเรียน และระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์  การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) ความแตกต่างของประสิทธิผล       การจัดการเรียนการสอน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัด    การเรียนการสอน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรครูสังกัดสำนักงาน      เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 304 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้สอน เนื้อหาบทเรียน และผู้เรียน ของการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับน้อย สำหรับประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับน้อย โดยนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรครู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการสอน และวิทยฐานะ ไม่มีความแตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอน มี 4 ปัจจัย เรียงตามลำดับปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ เนื้อหาบทเรียน (ß = 0.54) ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ß = 0.26) ผู้สอน (ß = 0.21) และผู้เรียน (ß = 0.15) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรนันท์ เอี่ยมภูเขียว. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 ในจังหวัดสุโขทัย. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร.

กฤตย์ษุพัช สารนอก, ศศิธร อิ่มวุฒิ, กัญญารัตน์ คำวิชัย และกนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล. (2564). การจัดการนวัตกรรมการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 7 (น. 1-13). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ทัดเทพ วงศ์แก้ว. (2558). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามทัศนะของนักศึกษาการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. (2564). การเรียนออนไลน์กับเด็ก. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.princsuvarnabhumi.com/online-learning-with-children/

นิตยา มณีวงศ์. (2564). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ในช่วงวิกฤต COVID 19. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 161-173.

ศุภณัฐ อินทร์งาม และอำนาจ ชนะวงศ์. (2562). การพัฒนาระบบการจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 160-173.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. (2564). ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักงาน สพป.สงขลา เขต 2. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.ska2.go.th

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rded.). New York: Harper and Row.