The การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR) โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) The Development of a teaching model for communicative English according to The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) by learning management based on the approach to teaching language for communication (CLT) for Prathom Suksa 6 students at Muang Amnat Charoen Municipal School (Phuttha Uthayan)

Main Article Content

ภัชรรัตน์ โพธิ์มาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR) โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) จํานวน 32 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองโดยจัดการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล จํานวน 32 คน จัดเป็นกลุ่มควบคุมจัดการสอนตามรูปแบบปกติ รวมทั้งสิ้น 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2) แบบมาตราส่วนประเมินค่าวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และ 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR) โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา


              ผลการวิจัยพบว่า สภาพการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามกรอบวัดมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR) ระดับ A1 ขั้นเริ่มต้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 12 มาตรฐาน และแนวการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) มีขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นนำเสนอ 3) ขั้นฝึก 4) ขั้นการใช้ภาษา และ 5) ขั้นสรุป ผลการพัฒนารูปแบบการสอน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) สาระการเรียนรู้ 5) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับมากที่สุด  ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนตามรูปแบบการสอนปกติและเจตคติของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการสอน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).หลกัสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปนัดดา กอมณี. (2562).รูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและอภิปัญญาสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ยุทธศาสตร์อภิปัญญาร่วมกับแนวคิดพหุสัมผัส. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑติ สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปัณณิศา ไชยลือชา. (2560).การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดสมดุลภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภีมพสิษฐ์ เตชะราชันย์. (2560). พัฒนาการบทบาทของภาษาอังกฤษในนโยบายการเรียนการสอนภาษา ของ ไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 121-139.

วิรัตน์ เกตุเรือง. (2559).รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร: 19 (3), 313 – 327.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 มิถุนายน 2563). จาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในการฟัง และพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานการสังเคราะห์แนวคิดและวิธีการ จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Aslem, M., Ahmed, M., & Mazherm, M. (2015). Enhancing communication skills of ESL primary students through activity based learning. European Journal of Language Studies, 2(1), 1-11.

Nishanthi, R. (2018). The Importance of Learning English in Today World. International. Journal of Trend in Scientific Research and Development, 3, 871-874.