ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลทางวิชาการ ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 2) เพื่อศึกษาระดับของประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 306 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 38 คน และครูผู้สอน จำนวน 268 คน จากสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.992 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) คิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลทางวิชาการของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงมาก ( = 0.845) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
References
กิตติชัย เทียนไข. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ลพบุรี. วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน, 2(2), 49-60.
เกรียงไกร แสนสุข. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ขวัญชนก แซ่โค้ว. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฐิตาภา สุวรรขำ และ ละมุล รอดขวัญ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(7), 109-125.
ไทพนา ป้อมหิน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียานุช ธะนะฉัน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
เปรมวดี จิตอารีย์. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพรรัตน์ วุฒิสาร. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 7(1), 225-272.
มารศรี สุธานิธ. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). วิเคราะห์การใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นนิติ บุคคลตามกฎหมายการศึกษา. ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ
วัชพงษ์ อุ้ยวงค์. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็ก ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2562-2565. (ออนไลน์). จาก https://www.ssk2.go.th/index.php/2022/10/25/265/
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). การกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัญชุลีภรณ์ คำภิระ. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2547). แนวคิดเรื่องสมรรถนะ Competency เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง. Chulalongkon Review, 16(3), 57–72.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
The world bank. (2563).PISA 2018 Programme for International Student Assessment. (ออนไลน์). จาก https://documents1.worldbank.org/curated/en/683311593415205230/pdf/ Thailand-Programme-for-International-Student-Assessment-PISA-2018-Country- Report.pdf