การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

อนุสรณ์ หว่างดอนไพร
บรรจง เจริญสุข
สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการขยะ 2) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ และ3) ประเมินผลการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด มี 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล ดำเนินการ 1 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูจำนวน 25 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสัมภาษณ์สภาพของปัญหาจำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.50-1.00 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.47-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.25-0.75 มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 แบบประเมินผลการปฏิบัติการ จำนวน 31 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.38-0.98 มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 และแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก 0.36-0.90 มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการขยะของโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 มีปริมาณขยะมาก ขาดระบบในการจัดการขยะที่ดี ขาดการคัดแยกขยะ ขาดถังขยะสำหรับการจัดการขยะที่ดี เพราะครูและบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจ ความตระหนัก และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการจัดการขยะ 2) การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะด้วยชุดฝึกปฏิบัติการ 3อาร์ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ และกิจกรรมสำนักงาน 3อาร์ คือ การลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ผลการพัฒนาพบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 31.28 สูง กว่าก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.08 และการบริหารจัดการขยะของครูตามหลัก 3อาร์ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับ มาก ทำให้ปริมาณขยะลดลง 118.70 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 80.69 และ3) ผลการประเมินการปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะของโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559-2564). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). แผนปฏิบัติการด้าน การจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565). จาก: https://env.anamai.moph.go.th/th/waste-management-action-plan/download?id=98732&mid=37662&mkey=m_document&lang=th&did=30304

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2555). ประเภทของขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

กรมอนามัย. (2554). พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) ปี 2550. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565). จาก: http://203.157.64.26/ewtadmin/ewt/laws/

กิตติ มีศิริ. (2559) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ, รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิตติมา เนตรพุกกณะ. (2562). การพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ สาขาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

เก ประเสริฐสังข์, ดุษฎี โยเหลา และสมไทย วงษ์เจริญ. (2561). การวิจัยปฏิบัติการเชิงวิพากษ์เพื่อสร้างรูปแบบและกลไกการจัดการขยะอย่างครบวงจรบนฐานการมีส่วนร่วมของ โรงเรียนและชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เกียรติกุล ถวิล. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในรูปแบบ 3อาร์ (Reduce, Reuse, Recycle) ของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2560). จาก MDGs สู่ SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565). จาก: https://sdgmove.wordpress.com /2017/08/13/mdgstosdgs/

เจษฎา บริบูรณ์. (2560). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565). จาก: www.environnet.in.th/kide/images/stories/ title_doc/waste.doc.

นิรันดร์ ยิ่งยวด. (2560). การพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะสำหรับนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสภาวะแวดล้อมศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.

ปานิพรรณ เทพศร. (2560). การดำเนินการตามนโยบายด้านการจัดการขยะของสถาบันการศึกษาในจังหวัด ชลบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัลลภ สิงหเสนี. (2560). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนในรูปแบบประชารัฐ.วิทยานิพนธ์หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201.(2565) รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, วันที่ 26 พฤษภาคม 2565, ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ประกาศเจตนารมณ์ลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในองค์การ ทั่วประเทศ 27 ธันวาคม 2561. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565). จาก: https://www.obec.go.th/archives/41989

Glykas, M. (2013). Business process management. Berlin : Springer, Heidelberg.

Gulick, L. H., “Notes on the Theory of Organinztion,” In Papers on the Science of Administration Gulick, L. & Urwick, L. (Eds.), pp.3-35