กระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรและประสิทธิผลของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ศึกษากระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่น(สัมประสิทธิแอลฟ่า) 0.97 เก็บข้อมูลด้วยจากผู้บริหารและครูของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 285 คน นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และสร้างสมการถดถอย จากนั้นสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจำนวน 5 คน เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรทุกด้านอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และกระบวนการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา ได้แก่ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา(X1) การวางแผนการใช้หลักสูตร(X2) การนำหลักสูตรไปใช้(X3) และการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล(X4) โดยได้สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น Y = 0.319X3 +0.336X2 + 0.128X4 + 0.122X1 และมีค่าสัมประสิทธิการทำนายร้อยละ 63.70 แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านหลักสูตรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตร ด้านการนำหลักสูตรไปใช้ และด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล รวมทั้งสิ้น 10 แนวทาง
Article Details
References
กษมา ชนะวงศ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จินตนา พฤคณา, สุเมธ งามกนก, และ ประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่ม โรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 215-229.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). Research Methodology in Behavioral Sciences and Social Sciences.
(7th ed.). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุวดี ประทุม, สุรัตน์ ไชยชมภู, & ธนวิน ทองแพง. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(1), 181-194.
รุจิร์ ภู่สาระ. (2546). การพัฒนาหลักสูตร:ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สาคร มหาหิงค์. (2560). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 22(23), 1-12..
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้่นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร เล่ม 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัญญา จัตุรงค์ และ อภิชาต เลนะนันท์. (2559). การบริหารหลักสูตรที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน การศึกษาพิเศษภาคใต้ กลุ่ม 7. Veridian E-Journal, 9(1), 1473-1487.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). School effectiveness. Educational Administration: Theory, Research, and Practice, 299-308.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The human organization: its management and values. New York: McGraw-Hill.