ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองหอย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 – 0.79 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.34 – 0.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิกพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรรณิการ์ สุพิชญ์ และสันติ วิจักขณาลัญฉ์. (2558). ผังกราฟิก: เครื่องมือช่วยการเรียนรู้ Graphic Organizers : Effective Learning tool. ศิลปาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 19-39.
จิรารัตน์ บุญส่งค์. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฉันทนา สนานคุณ. (2559). การประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้รูปแบบการสอน BBL. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาภรณ์ จันทร์ประดิษฐ. (มปป.). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566). จาก: https://shorturl.at/qAHIX
ธัญพัฒน์ แรมลี. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain – Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภัสวรรณ ศรีทรงเมือง และคณะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐานร่วมกับผังกราฟิก ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุคันธาราม (สุคันธวิทยาคาร) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(3), 86-103
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
บุญส่ง ขันทอง. (มปป.). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 19 เมษายน 2566). จาก: https://www.gotoknow.org/posts/334320
ทิพรัตน์ สัตระ. (2550). ผลการใช้เทคนิคผังกราฟิกในการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปิยาภรณ์ นามไพร. (2560). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้ใช้สมองเป็นฐาน (Brain – Based Learning) สาระเศรษฐศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัตน์วิสาณ งามสม. (2560). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนบ้านหนองหอย. (2565). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านหนองหอย ฉบับปรับปรุง 2565. โรงเรียน บ้านหนองหอย. อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย.
พิชาติ แก้วพวง. (2563). ศาสตร์การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา (Social of Social Studies Learning Management). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา = Educational research. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain – Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน สะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาตร มหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุจิเรจ แก้วพินิจ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2554). ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 เมษายน 2566). จาก: http://kururatsocial.blogspot.com/2011/09/blog-post.html
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพ: โอเดียนโฆษณา.
สุขกมล แสงวันดี, บังอร กองอิ้ม, และกมลหทัย แวงวาสิต. (2560). การพัฒนารูปแบบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์. การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL: Brain – Based Learning) ระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.