ของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุชาดา จิตกล้า
สุดา เจ๊ะอุมา
จรุงใจ มนต์เลี้ยง
สุทธิชา มาลีเลศ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการอการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามบริบทพื้นที่ 2) เพื่อศึกษาภูมินิเวศ ประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน และ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรทักษะสมอง (EF) โดยใช้ของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่นของชุมชนบ้านเขาวัง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน “PAR” กลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 1 ได้แก่ ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน 14 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ 2 ครู และผู้ปกครอง 24 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสำรวจและประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


              ผลการวิจัย พบว่า  1) องค์ความรู้ที่ได้ คือ (1) สภาพความเป็นอยู่วิถีชีวิตในชุมชนเปลี่ยนไปตามสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว (2) ชาวบ้านนำวัสดุท้องถิ่นมาทำของเล่น (3) จุดเด่นชุมชนและวิถีชุมชน คือ หมู่บ้านตั้งอยู่บนภูเขาอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ (4) ของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่นเปรียบเสมือนเครื่องมือพัฒนาตนเองกับสิ่งแวดล้อม (5) การสร้างของเล่นเด็กเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และผู้ปกครองมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน คือ ของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่นของชุมชนบ้านเขาวัง จำนวน 4 ชุด (3) การพัฒนาหลักสูตรทักษะสมอง EF โดยใช้ของเล่นจากวัสดุในท้องถิ่น ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูและผู้ปกครองผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรทักษะสมอง (EF)อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ทองตำลึง, อนุกูล พลศิริ และเหมือนแพร รัตนศิริ. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา

การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยภาคใต้. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 2398 - 2413.

กุสุมาลี โพธิปัสสา. (2562). การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น . วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(3), 115 - 128.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพ : อลีน เพรส.

บุญเรียง บัวละคุณ. (2564). การพัฒนาลานเล่นลานเพลินส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30 (ฉบับเพิ่มเติม2),

S270 - S282.

ปิ่นเพชร ภักดีณรงค์ และรัชฎา คชแสงสันต์. (2563). การอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ไม้ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นน้ำบ้านเขาวัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

(รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช : สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

พระมงคล สุมงฺคโล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่าละว้าหมู่ที่ 11. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(2), 57 - 68.

พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน จังหวัด

นครปฐม (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

พรเพ็ญ บัวทอง. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์

วัฒนะ จูฑัวิภาต. (2542). หัตถกรรมไทย ความเป็นมาและการผลิตในปัจจุบัน ศึกษากรณี: การทำของเล่นไม้ระกำ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันไทย

ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วไลพร เมฆไตรรัตน์ และปรียาภรณ์ คงแก้ว. (2564). การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย

ที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภาคเหนือ, 11 (2), 15-30.

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี/(2540). ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง. สืบค้น 16 มีนาคม

, จากhttp://chaipat. au.edu/safe-life/nakhonsri/kaowang.html.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG /(2561). คู่มือพ่อแม่ พัฒนาทักษะสมอง EF executive function ตั้งแต่ปฏิสนธิ – 3 ปี.

กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์ (จำกัด)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และสถาบัน RLG /(2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF executive function ในเด็กวัย7-12 ปีสำหรับพ่อ

แม่และครู. กรุงเทพฯ :อักษรสัมพันธ์ (จำกัด)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และสถาบัน RLG /(2561). คู่มือพัฒนาทักษะสำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทย (จำกัด)

สุนิษา ภารตระศรีและ ชวนพิศ รักษาพวก. (2565).ผลการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย.วารสารวิทยาลัย

นครราชสีมา. 16 (2), พฤษภาคม - สิงหาคม 2565, 353-368

อรทัย บุญเที่ยง. (2562). ผลการศึกษาการบูรณาการจัดการเรียนรู้ทักษะทางสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Function : EF) ของครู ผู้ดูแลเด็กเล็กในเขตพื้นที่

จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(1), 221 - 229.