กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น

Main Article Content

ณัฐวุฒิ ธีรปรเมศวร์
วินัย ทองภูบาล
สมาน อัศวภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ เพื่อประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 278 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสภาพที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็น 3 อันดับแรก คือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ความเป็นมืออาชีพทางดิจิทัล และการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล  กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล ด้านการพัฒนาความคิดรวบยอด การพัฒนาตนเองรายบุคคล และด้านการพัฒนาการรับข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อน ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ชีวิน อ่อนละออ และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย., 10(1), 108-119.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. (ออนไลน์) อ้างเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564. จาก https://today.line.me

พระราชวุธ ปัญฺญาวชิโร. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่: ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. ตถาตา พับลิเคชัน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 216-224.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. (ออนไลน์) อ้างเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.obec.go.th. จาก http://www.trueplookpanya.com.

อารียา บุญสม. (2556). อิทธิพลเชิงสาเหตุของผลงานขององค์กรต่อการเลือกผู้นำจากเพศ และการรับรู้ความเหมาะสมของผู้นำ โดยมีลักษณะนิสัยของผู้นำในอดีตเป็นตัวแปรกำกับ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.

Sullivan, L. (2017). 8 skills every digital leader need. (online) Retrieved November 25, 2021. form https://www.cmswire.com

Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership: changing paradigms for changing times. United States of America: Corwin.

Tang, K.N. (2012). Soft skills development for higher education institute. Paper presented for special seminar Faculty of Education, Khon Kaen University.