การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพารา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต

Main Article Content

อารัญ เบ็ญอ้าหมาด
บรรจง เจริญสุข
สิริสวัสช์ ทองก้านเหลือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านพารา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแท็กการ์ด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตผล และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านพาราจำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกการนิเทศ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนบ้านพาราทำได้น้อย เนื่องจากครูขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) การพัฒนาสมรรถนะครูด้วยวิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศการจัดการเรียนรู้ พบว่า การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 4.24 อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย 4.16 อยู่ในระดับมาก และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.47 อยู่ในระดับมาก และ 3) ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจหลังอบรมเชิงปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.77 คะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมเท่ากับ 21.89 มีค่าเฉลี่ยทักษะการจัดการเรียนรู้ 4.46 อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการพัฒนาสมรรถนะครู 4.16 อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา บุรีแสง. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน โดยประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสายปลาหลาย (คุรุราษฎร์ผดุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นันทวัฒน์ ภัทรกรนันท์. (2555). การพัฒนาชุดฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับอาสายุวกาชาด. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระมหานรินทร์ สุมโน. (2560). การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในศตวรรษที่ 21. MBU Education Journal: Faculty of Education Mahamakut Buddhist University, 5(1), 115.

พรรณทิพา โสภาสพ. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนาเพียงเก่าสนธิราษฎร์สามัคคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภัทยา ปินะโต. (2561). การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษบูรณาการแบบสอดแทรกโรงเรียนชุมชนดงม่วงไข่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2561). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ไทยพัฒนารายวันการพิมพ์.

โรงเรียนบ้านพารา. (2563). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2563. ภูเก็ต: โรงเรียนบ้านพารา.

วิชา พรหมโชติ. (2564) การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 327.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร โดย ใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. 3rd ed.. Victoria: Deakin University.

Liljedahl, P. (2014). Approaching Professional Learning: What teachers want. The Mathematics Enthusiast, 11(2), 109-122.

Ponte, P., Ax, J., Beijaard, D., & Wubbels, T. (2004). Teachers’ development of professional knowledge through action research and the facilitation of this by teacher educators. Teaching and Teacher Education, 20(6), 571-588.