ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Main Article Content

นิชานันท์ เฉลิมศักดิ์ตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 324 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมี  รองลงมาได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ  ส่วนการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  2) องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อมีการพิจารณาในรายละเอียด พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการมีแบบแผนความคิดอ่าน  ส่วนด้านการเรียนรู้เป็นทีม  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา เรียงตามลำดับอิทธิพลจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(X4) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา(X3) และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมี(X1) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติคุณ ฐิตโสมกุล. (2560). องค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรและประสิทธิผลขององค์กรหน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ขนิษฐา อุ่นวิเศษ. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่สกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ขวัญหทัย ทองธิราช. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับสภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา,1(1),12.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2549, มกราคม-มีนาคม). การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน: ปัจจัยเอื้อต่อความสำเร็จและข้อเสนอแนะ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 31(1), 143.

เนตรนภา เจตน์จำนงค์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.(ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 เมษายน 2564). จาก https://e-research.siam.edu/kb/transformational-leadership-of-administrators-affecting/

บุษยมาศ สิทธิพันธ์ (2559). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.

ประวิต เอราวรรณ์. (2560). ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบเพื่อคนทั้งมวลชน. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(1), 59-61.

เพ็ญจันทร์ สินธุเขต. (2560). การศึกษายุคนี้ (ยุคดิจิทัล) : Thailand 4.0. .ใน ครุศาสตร์วิจัย 2560 : นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (หน้า 98-110). ลำปาง, ประเทศไทย.

ศศิรดา แพงไทย. (2559, มกราคม-มิถุนายน). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 6(1), 7.

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2555, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้: แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม. วารสารวิทยบริการ, 23(1), 18-29.

Bernard M. Bass and Bruce J. Avolio. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks: Sage, 5.

Hoy W.K, and Miskel C.G. (2013). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York: McGraw-Hill.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Marquardt, M.J. (1996a). Building the Learning Organization. New York: McGraw–Hill.

Senge, P. M. (2006). The Fifth Discipline Field Book: Strategies and Tools for Building a Learning Organization. New York: Doubleday.