การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ธัญญธร มงคลคูณ
สมชัย ชวลิตธาดา
วิเชียร อินทรสมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อมีการพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ รองลงมาคือ ด้านกิจกรรมนักเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกิจกรรมแนะแนว 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนนาคประสิทธิ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ทั้งด้านกิจกรรมแนะแนว ด้านกิจกรรมนักเรียน และด้านกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คมสัน พรมเสน. (2562). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดท่าพูด (นครผลประชานุกูล) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จินตนา รอดเรืองคุณ. (2546). การส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาพุทธศักราช 2544 ของผู้บริหารโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ เอกชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จีรนาถ ภูริเศวตกำจร, สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร. (2566). การบริหารงานวิชาการด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา.วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 24(1), 476-483.

พระมหาอุดมพร วิสุทฺโธ (เชาว์นามล) (2558). ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(2), 170-182.

สมสกุล ทิพย์บุญทอง. (2560). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 3 (หงาว-โตนเพชร) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาตินานาชาติวารสาร ครั้งที่ 8; 20 มีนาคม 2561; สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Anderson, R.M. (1975). Self Instruction an a Method of Preparing School Social Studies. Ann Arbor.

Burnett, Daria Shockley. (1996). The Relationship of Student Success to Involvement in Student Activities in a two-year Institution. California: University of Southern California.

Chase, J. (2006). Creative Leadership. Journal of District Administration, 42(12), 20-20.

Connell, Matthew joseph. (1993). Perception of Student Activities Mid-managers Toward their Career Goals Career Opportunities. Texas: University of North Texas.