กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ สู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง

Main Article Content

ปนัดดา ทีบัวบาน
สุภาพ ผู้รุ่งเรือง
ศิริ ถีอาสนา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อ ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียน พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ จำนวน 37 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงานและครูโรงเรียนละ 4 คน รวมจำนวนทั้งหมด 259 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ได้แก่ การบริหารสถานศึกษา การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง กรอบแนวคิดองค์ประกอบการเป็นองค์การสมรรถะสูง ได้แก่ การบริหารสถานศึกษาที่มีสมรรถนะสูง บุคลากรที่มีสมรรถนะสูง และระบบนิเวศที่มีสมรรถนะสูง โดยสภาพปัจจุบันโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.44) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลักคือ พลิกโฉมการบริหารจัดการที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง พัฒนาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง และยกระดับระบบนิเวศที่มีสมรรถนะสูงสู่การเป็นองค์การสมรรถนะ โดยมีกลยุทธ์รองจำนวน 10 กลยุทธ์ และ 29 แนวทางการดำเนินงาน ส่วนผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง พบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) (ฉบับประกาศราชกจิจานุเบกษา). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565). จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view.

เติมทรัพย์ จั่นเพชร. (2557). การพัฒนาตนเองของผู้ใหญ่. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 21.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

ปรีชาชาญ อินทรชิต. (2556). การพัฒนายุทธศาสตร์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีขีดสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(5), 146 –159.

พรชัย โพคันโย. (2552). การบริหารภาครัฐแนวใหม่. (ออนไลน์) อ้างเมื่อ 10 สิงหาคม 2565. จาก http:/www.sobdai.com

พสุ เดชะรินทร์ และชัยวัฒน์ หฤทัยพันธ์. (2553). การวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณฑล สรไกรกิติกูล และสุนันทา เสียงไทย. (2556). มิติทางจิตวิญญาณในการทำงาน (Workplace Spirituality): ความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(32), 129-140.

มณีวรรณ ฉัตรอุทัย. 2551. แนวคิดและหลักการบริหารคนเพื่อผลงาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจศรา ประเสริฐสิน. (2556). การพัฒนาตนเองสำคัญอย่างไรไรในชีวิตและการทำงาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(10), 74.

อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2552). เอกสารคําสอนรายวชาแหล่งการเรียนรู้และภมิปัญญาท้องถิ่น. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

De Waal, Andre'. (2012). What make a high-performance organization: Five valid factors of competitive advantage that apply worldwide. UK: global professional publishing.

Pitt Community College. (2011). Planning-Implementation-Evaluation Cycle (PIE Cycle). (Online) (Cited March 10, 2023). from http://www.pittcc.edu