ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) สร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 346 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่นโดยภาพรวม เท่ากับ 0.97 และแบบสอบถามปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านบรรยากาศของโรงเรียน ด้านแรงจูงใจในการทำงานของครู และด้านการบริหารงานวิชาการ ซึ่งค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87, 0.92, 0.94 และ 0.92 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X1) ปัจจัยด้านการบริหารงานวิชาการ (X4) และปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน (X2) ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 71.00 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ = 1.688+.317X1+.156X4+.151X2
สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน y = .443ZX1+.219ZX4+.211ZX2
Article Details
References
กิติยา บุญแซม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
จตุรภัทร ประทุม, ประยูร อิ่มสวาสดิ์ และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(2), 119-130.
จินตนา พฤคณา, สุเมธ งามกนก และประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของกลุ่มโรงเรียนบ้านฉางพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร”, 8(1), 215-229.
ชลธิชา นารี, วิโรฒน์ ชมภู และประยูร อิ่มสวาสดิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(1), 11-24.
ทินกร คลังจินดา และวัลลภา อารีรัตน์. (2558). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 138-147.
ทิพมาศ ดนตรีพงษ์, ชัยพจน์ รักงาม และสมุทร ชำนาญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 9(2), 272-285.
พระมหาพุฒิพงศ์ สิริภิญฺโญ, พิมพ์อร สดเอี่ยม และพระครูอดุล สีลาภรณ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(19), 162-170.
รัชพล จอมไตรคุป. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วันวิสาข์ หอมขจร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มศีขรภูมิ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วุฒิชัย ดาบไธสง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สาวิตรี จำปาศักดิ์ (2561). การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาวิตรี บุญนุกูล (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 5-14.
สุนิสา ภู่เงิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรเชษฐ จันทร์เซ็ง. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Educational administration: Theory, research and practice (4th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Attitude Theory and Measurement, 90-95. New York: Wiley & Son.