รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล

Main Article Content

วันเพ็ญ วงษ์จันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครู จำนวน 142 คน นักเรียน จำนวน  350 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึก 3) แบบทดสอบ และ 4) แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่น ค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนนารีนุกูล  โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่คาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจัดลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านทีมร่วมมือรวมพลัง และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามลำดับ 2) ผลการสร้างรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) การดำเนินการ (5) การประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า (1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยภาพรวมมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับสูง และหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู พบว่า (2.1) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า (4.1) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานตามรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว ภูทองเงิน. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง

จิตสาธารณะของนักเรียน ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิราพร รอดพ่วง, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่และสุพิน บุญชูวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้การคิดอย่างเป็นระบบและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 281-296.

ธงชัย คำปวง. (2561). การพัฒนาครูแบบองค์รวมโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระ รุญเจริญ. (2560). ความเป็นมืออาชีพการบริหารหารศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเพทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ธีระชัย รัตนรังสี. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปองทิพย์ เทพอารีย์ และมารุต พัฒผล. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(2), 284-296.

ประคอง รัศมีแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 360-374.

มานพ จิตแม้น. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learningโรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 45-53.

เพ็ญผกา กาญจโนภาส. (2560). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณในพระบรมราชูปถัมภ์.

โรงเรียนนารีนุกูล. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนนารีนุกูล ปีการศึกษา 2563. อุบลราชธานี: โรงเรียนนารีนุกูล.

โรงเรียนนารีนุกูล. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนนารีนุกูล ปีการศึกษา 2564. อุบลราชธานี: โรงเรียนนารีนุกูล.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2559). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. สารานุกรมการศึกษาร่วมสมัยเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

ศราวุธ แวงธิสาร. (2562). การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.

สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา: การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สนั่น วงษ์ดี. (2561). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนด้วยวิธีผสานการชี้แนะทางปัญญาสำหรับพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 83-94.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC(Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุธิภรณ์ ขนอม. (2559). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถ

ในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาวดี ปกครอง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(101), 51-67.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2561). การส่งเสริมกระบวนการ PLC ให้มีประสิทธิผล ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. ในการประชุมวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2561; หน้า 26-40. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.

สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2562). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวิจัยทางพยาบาล. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา.

สุรีรัตน์ นนท์ตุลา. (2555). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สัมฤทธิ์ ห้าวหาญ. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Inquiry and Improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Husen, T. & Postlethwaite. N.T., (1994) The international encyclopedia of education, 2nd ed, New York: Pergawon press Inc.,