การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย 2 ห้วยคล้า (พรหมดิเรกอนุสรณ์)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย 2 ห้วยคล้า (พรหมดิเรกอนุสรณ์) จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับการ์ดเกมกลยุทธ์ (Strategy Card Game) 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณท้ายวงจร และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนจำนวน 15 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ย 28.43 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 71.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนจำนวน 15 คน มีคะแนนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 22.62 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
Article Details
References
คนึงนิตย์ ดีพันธ์. (2561). ผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 103-112.
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พิชญ์สินี ไสยสิทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านบนคลาวด์โดยใช้การเรียนแบบปัญหาเป็นฐานในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภวิกา เลาหไพฑูรย์. (2559). การสอนโดยใช้เกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเลข 3 หลักของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาณุ ลภาพงษ์. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อการ์ดเกมของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ยิ่งยศ เกตจินดา และ ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). การพัฒนาการ์ดเกมความเป็นจริงเสริม เรื่องวรรณคดีรามเกียรติ์ วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), 75-89.
ยุทธศิลป์ แปลนนาค. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถในการตั้งคำถามสำคัญทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชดาภรณ์ ไชยวิวิช. (2564). ผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS ที่มีต่อเจตคติด้านสิ่งแวดล้อมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 127-142.
รัฐพงษ์ ศิริวิริยานันท์. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาเรื่องทวีปยุโรปสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5; อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
ศศิกานต์ หลวงนุช. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ GPAS5 Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 6 มกราคม 2566). จาก www.onetresult.niets.or.th.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพ การเรียนรู้แบบ Active Learning ตามแนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาพหุปัญญาและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด
สุชาติ แสนพิช, พัฒนา ศิริกุลพิพัฒน์ และพิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ. (2560). การพัฒนาการ์ดเกมมวยไทยเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. Veridian E-Journal, 10(1), 1454-1466.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2560) การพัฒนาชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). แนวการสอนประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์ไทยหลากหลายวิธีเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. (2555). การพัฒนาทักษะความคิดระดับสูง : Developing Higher Level of Thinking Skills. นครปฐม: ไอ คิว บุ๊คเซ็นเตอร์.
Arnel F. Gutierrez. (2017). Development and Effectiveness of an Educational Card Game as Supplementary Material in Understanding Selected Topics in Biology. CBE—Life Sciences Education, 13(1), 76-82.