รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะดิจิทัล สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัล และประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และหัวหน้าแผนก วิทยาลัยอาชีวศึกษา 281 คน และครูผู้สอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น พร้อมกันนี้มีการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วย ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะดิจิทัลของนักเรียน 1.1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดและความต้องการจำเป็นของการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียน พบว่า ทักษะที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ได้แก่ การใช้โปรแกรมการนำเสนอการใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย และการใช้งานอินเทอร์เน็ต ตามลำดับ 1.2) Best Practice ของการพัฒนาทักษะดิจิทัล ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน 10 ปี 3 ครั้ง ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ระบุว่า ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียน คือ 1) รู้จักการใช้ 2) มีความเข้าใจ 3) มีความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ 4) รู้เท่าทันสื่อและ 3) รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนและผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความคุ้มค่าของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559- 2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
พิศุทธิภา เมธีกุล และวิชุดา กิจธรธรรม. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2): 1-14..
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ องค์การมหาชน. (2564). ตัวชี้วัดในการรับรองสมรรถนะกำลังคนตามมาตรฐานอาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมหาชน).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานคณะกรรมการการข้าราชการพลเรือน (2561). แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟิก จำกัด.
อมรรัตน์ จินดา. (2558). สภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาสำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of Education Objectives, Handbook1: Cognitive Domain. New York: David Mikey.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.