สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารและระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 320 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหาร โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .944 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการบริการที่ดี ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ และด้านการทำงานเป็นทีม โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์แปรปรวนของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 90.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 55-68.
นงนุช อินทรโคกสูง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่9. กรุงเทพฯ: สุวรีิยาสาส์น.
ปวริศา มีศรี. (2560). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
พุธิตาพร ใจดี. (2565). การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภาณุวัฒน์ กาศแก้ว. (2559). มิติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครปฐม เขต 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2565). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ยุทธศาสตร์การศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.
อดิศักดิ์ ปานด่วน. (2565). Reskill-Upskill สู่การสร้าง Skill Set เพื่อพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: ปัญญพัฒน์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.