ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอวังทรายพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 3)เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาและ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอวังทรายพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ตอน ตอนที่ 1 ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .903– .961 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .908 ตอนที่ 2 ประสิทธิผลของสถานศึกษา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .902– .960 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .906 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติและแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1)ปัจจัยการบริหารอยู่ในระดับมาก 2)ประสิทธิผลของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 3)ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง 4)สมการพยากรณ์ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ .91ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้(Stepwise Multiple Regression Analysis) = 0.23 + 0.24 (X4) + 0.31 (X2) + 0.19 (X3) +0.19 (X1) =0.28 (z4) + 0.31 (z2) + 0.21 (z3) + 0.19 (z1)
Article Details
References
ณธกร ภาโนมัย, เพียงแข ภูผายาง. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ปรมินทร์ บุญพันธ์, ภูมิพิพัฒนรักพรมงคล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(2), 215-217.
พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่สงผลตอประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุมการศึกษาทองถิ่นที่ 9 กรมสงเสริมการปกครองทองถิ่น. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มานพ จันทร์ศรี, ภูมิพิพัฒนรักพรมงคล. (2564). แนวทางพัฒนาการบริหารระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศในกลุ่มโรงเรียนคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำแพงเพชร เขต 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 10(1), 95-97.
ศิริพร สกุลไทย, ภูมิพิพัฒนรักพรมงคล. (2566). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. วารสารครุ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(2), 40-43.
สาวิตรี บุญนุกูล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธาทิพย หาญเมือง, ภูมิพิพัฒนรักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 5(9), 90-91.
สุภาวรรณ คําระมาด, ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การในความเป็นปรกติใหม่ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(2), 238-241.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1, สำนักงาน. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566. พิจิตร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1, สำนักงาน. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาระยะ 5 ปี 2566-2570. พิจิตร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). ปรัชญาการศึกษา ความต่อเนื่องของ นโยบายการศึกษาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษากฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Hoy, W.K., and Miskel, C.G. (1991). Educational Administration. New Yok: Random House
Steers, R.m. (1977). Organizational Effectiveness: A Behavioral View. Santa MonicaCalifornia: Goodyear Publishing Company Inc.