แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ข้อคำถามมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67– 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 และ 0.982 แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภาพรวมพบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น พบว่า หลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน มีค่าดัชนีมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการบริหารมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 1) จัดโครงสร้างงานที่เอื้อต่อการกระจายอำนาจ พร้อมรับยุคดิจิทัล ครอบคลุมทุกภาคส่วน สร้างความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ 2) สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วม ใช้เทคโนโลยีเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วม 3) ส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชน สร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดการศึกษา สร้างคู่มือการบริหารงานแต่ละฝ่าย 4) ศึกษาบริบทของสถานศึกษาเพื่อให้สามารถบริหารได้สอดคล้องตามความต้องการของชุมชน 5) พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมบทบาทของบุคลากร พัฒนาระบบสารสนเทศให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบได้ พร้อมเผยแพร่อย่างโปร่งใส เป็นไปตามมาตรฐาน
Article Details
References
จีระศักดิ์ อบอาย. (2564). การศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พัชรีพร พรหมกิ่งแก้ว และไพรภ รัตนชูวงศ์. (2565). แนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของ โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(1), 205.
เพชรัตน์ สีหาทัพ. (2561). สภาพและแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2561). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนบ้านป่าตึง(วิทยประสาท). (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565.
โรงเรียนบ้านสันโค้ง. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. เชียงราย: โรงเรียนบ้านสันโค้ง.
วาสนา สีแดง. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม. วิทยานิพนธ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิชิต อ่อนจันทร์ และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2564). แนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) ในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 13(1), 1-22.
สมหวัง ศรีหะวงศ์. (2563). ผลของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของประชาชนต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 21-34.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อนุวัตร สุธรรมปวง. (2562). แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านป่าเหมือด ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1967). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.