แนวทาง แนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

Main Article Content

ประทีป  ทาริยะวงศ์
ประจบ ขวัญมั่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและเปรียบเทียบสภาพของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลจำแนกตามประสบการณ์ การปฏิบัติงานและขนาดโรงเรียน 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้จําแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน ครูผู้สอน จำนวน 80 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และคำนวณ จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร คนผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ มีความเชี่ยวชาญ ทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.986 เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที(t-test) การทดสอบค่าF(F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา ข้อที่มีค่าร้อยละมากสุด ผู้ปกครองไม่ได้ให้ความสำคัญในด้านการติดต่อทางกลุ่มออนไลน์ เช่น Live, Facebook หรือ แอพพลิเคชั่นที่เหมาะสม กับสถานศึกษา ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในยุคดิจิทัลของกลุ่มโรงเรียนนครโกสัมพี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ การปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียนพบว่า ไม่แตกต่างกัน มีข้อแนวทาง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดเป็นนโยบายหรือจุดเน้นของสถานศึกษาในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศ ให้แต่ละกลุ่มงานต้องจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณวรรธน์ ลาขุมเหล็ก. (2564). สภาพและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ฐิติยา ปทุมราษฎร์. (2557). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เทอดนรินทร์ อุปลี. (2556). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปฏิธาน มหิเมือง. (2565). การศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารยุคดิจิทัลโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

พัชณียา หานะพันธ์. (2557). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 31 และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ค.ม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พรทิพย์ หลักเฉลิมพร. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). หลักการทฤษฎีและปฏิบัติทางการบริหาร. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุพัตรา วงษา. (2561). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สุภาภรณ์ บัวจันทร์. (2561).แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรทาง การศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (2554). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564. กำแพงเพชร: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2555). โดยศึกษาการจัดทรัพยากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติงแอนด์พับลิชชิง.