ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

สุภาดา นากลางดอน
วิไล พลพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่6ตามเกณฑ์80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่6ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม และ3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิชญพิชญ์ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีภาคเรียนที่1ปีการศึกษา2565จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565 จำนวน 25 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)  แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม 2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง0.23–0.69 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.32– 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6ที่มีต่อจัดการเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า       1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม E1/E2 เท่ากับ 82.37/83.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยที่เรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ที่มีต่อจัดการเรียนแบบเชิงรุกเสริมด้วยชุดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. นิตยสาร สสวท., 36(163), 72-76.

จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชฎาพร เจ๊กรวย. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง อักษรนำและคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบเชิงรุก (Active Learning). รายงานการวิจัยโรงเรียนวัดสโมสร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และวาสนา ทีวีกุลทรัพย์. (2554). ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์. ใน ชุดฝึกอบรมเรื่องการผลิตชุดการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (162-203). นนทบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและแนวคิดการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน เพื่อการออกแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2553). นวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา=Educational research. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

ฟาตีฮะห์ อุตส่าห์ราชการ (2558) แบบการเรียนการสอนแบบ active learning เพื่อพัฒนาแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องคลื่นไหวสะเทือน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนพิชญพิชญ์. (2565). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. อุดรธานี: โรงเรียนพิชญพิชญ์.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Sweller, J. (2006). The worked example effect and human cognition. Learning and Instruction, 16(2), 165–169.