การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศเพื่อส่งเสริมความสามารถครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบ พัฒนารูปแบบ ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 11 คนและครูผู้สอน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.957 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนาและถอดบทเรียน แบบประเมินและบันทึกผลการใช้รูปแบบ แบบประเมินความสามารถครูและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหารและครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเป็นงานเฉพาะ ส่วนใหญ่ครูขาดความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผู้บริหารต้องร่วมพัฒนารูปแบบและออกแบบการเรียนรู้กับครู และร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานให้มีความเป็นกัลยาณมิตร 2) ผลการพัฒนารูปแบบ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ขั้นตอนการบริหารจัดการการนิเทศ (2PLCEE Model) และปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการบริหารจัดการการนิเทศ 3) ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศ ทั้งกลุ่มนำร่องและกลุ่มทดลองจริง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมินความสามารถครูในการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการการนิเทศของครูผู้สอนทั้งกลุ่มนำร่องและกลุ่มทดลองจริง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
บำรุง ป้องนาทราย. (2564). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practices) โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู. 1(1). 45-60.
ปราณี นาคทอง. (2565). กลยุทธ์การจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน .ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา . พระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พิมพ์ณัฐชยา เทียนเจษฎา. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) ระดับปฐมวัย. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มยุรี เจริญศิริ. (2563). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เล่ม 130, ตอนพิเศษ 156ง (12 พฤศจิกายน 2556) : 43-54.
โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2565. อุบลราชธานี : โรงเรียนเทศบาล ๒ หนองบัว.
วารินทร รัศมีพรหม. (2542). การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เอกสารคําสอน.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. สงขลา : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโป.
วิรัตน์ แก้วสุด เมธาวดี เคหบาล เกรียงไกร เพชรเสถียร วิทยา บุราณ และวิมลพรรณ สิงห์คำ. (2561).
การพัฒนารูปแบบการนิเทศ PPDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นกระบวนการ PLC สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561. กระทรวงศึกษาธิการ.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). การนิเทศการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช : การพัฒนาวิชาชีพ ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร.
สายฝน แสนใจพรม. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ด้านสุขอนามัยของโรงเรียนบนพื้นที่สูง. เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูง สำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพ: บจก. พริกหวานกราฟฟิค.
สุธิดา การีมี. (2562). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุพักตร์ พิบูลย์. (2556). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ : แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิชย์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จํากัด.
Chen, YM., Chen, KM., Chang CC., Chen MC. And Yang LY. (2021). The individualized supervision strategy and effectiveness under the strength perspective: a pilot study for the case management model of the high-care elderly in communities. BMC Health Serv Res 21, 546. https://doi.org/10.1186/s12913-021-06574-2
Clarke, G. L. (2018). The Effects of Teacher Beliefs When Embedding Response to Intervention Within a Professional Learning Community. Degree of Doctor of Education (Ed. D.), Caldwell University
Dety Mulyanti. (2023). Educational Supervision to Improve Teachers’ Learning Quality and Performance in the New Normal Era. Al-Ishlah: Journal Pendidikan, 15(3), 3749-3755.
Dick W. and Carey L. (1996). The Systematic Design of Instruction. 4th ed. New York: Longman.
Glickman. (2010). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. 8th ed.. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Jane, B. Brian, K. and Beverly, B. (2020). The Perceived Benefits of the Professional Learning Community Model in the Elementary Setting: A Case Study. Associate Vice President for Graduate Affairs Melanie Bishop, Ed.D., Missouri Baptist University.
Risma Anggreyani, Yesi Desria, Yantoro and Bradley Setiyadi. (2023). The Effect of the Application of Education Administration Supervision on Improving the Quality of Teachers. Journal of Teaching and Learning, 2(2), 75–83.
Timperley, H., Wilson, A., Barrar, H., & Fung, I. (2007). Teacher Professional Learning and Development: Best Evidence Synthesis Iteration. Wellington: Ministry of Education. Retrieved from https://www.educationcounts.govt.nz/publications/series/ 2515/15341. 2023-10-10.