รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วศินี แสงศรีจันทร์
ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 370 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมิน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนี PNI modified และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ชื่อคือ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน สำหรับการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ดังนี้  1) ระดับที่เป้าประสงค์ถูกกำหนด 2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ 4) ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ 5) ธรรมชาติของโครงสร้าง 6) การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม 7) ลักษณะของภาวะผู้นำ และ 8) แบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรธรรศ ประศาสน์วนิช. (2564). แนวทางการบริหารจัดการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

กฤชณรงค์ ด้วงลา. (2565). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนัฐ อุดมศร .(2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิดา หมั่นดี และธีร หฤทัยธนาสันติ์. (2561). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน ขนาดเล็กในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์| Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 29(2), 209-218.

นิรัญ เหลืองอร่าม. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียน “HTS STEP MODEL” สู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนรบ้านห้วยหละ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 42(3), 393-409.

ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. (2558). คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล.

สอาดลักษม์ จงคล้ายกลาง. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). โครงสร้างองค์กร. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 1 สิงหาคม2566) จาก https://shorturl.asia/EXkAq

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 1 สิงหาคม 2566) จาก https://citly.me/cegnT

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 1 สิงหาคม 2566) จาก https://citly.me/2zuGB

Bush, T. (2003). Theories of Educational Leadership and Management 3rd Edition. London: SAGE Publications Ltd.

Sample Size Calculator. (2024). Retrieved form https://www.calculator.net /sample-size-calculator.html