ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาชุมช้าง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.22-0.69 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.42-0.72 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MATสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้แบบ 4 MAT อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2545). กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่คำนึงถึงพัฒนาการ ทางสมองของผู้เรียนอย่างเท่าเทียมกัน (วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT). วารสารวิชาการ, 4(1), 154-172.
จักรพงษ์ แสนสุริวงค์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูป และความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองผักแว่นโนนฮังหนองบัวสามัคคี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นพมณี มีทอง. (2562). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ 4 MAT เพื่อพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์วรรณคดี และวรรณกรรมไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา Education Research. มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.
สิริวิมล พวงมาลา. (2561). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบโฟร์แมทเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแม่กอนใน. วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรา เล่าเรียนดีและคณะ (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2549). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พาพร แซ่ฮึง. (2559). ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน สร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. 2550. ทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และเขียน. นนทบุรี: ซี.ซี. นอลลิดจ์ลิงคส์.
Sweller, J. (2006). The worked example effect and human cognition: Learning and Instruction. New Jersey: Educational Technilogies.