แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในพื้นที่โครงการพัฒนา ดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารวิชาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการบริหารวิชาการ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ข้อที่ 1 ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา 6 คน ครูผู้สอน 86 คน ข้อที่ 2 ได้แก่หัวหน้างานวิชาการของโรงเรียน จำนวน 5 คน และข้อที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน และหัวหน้างานวิชาการของโรงเรียน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยในการบริหารวิชาการ ได้แก่ ปัจจัยภายใน ด้านโครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา , ผลผลิตและบริการ ,บุคลากร , ประสิทธิภาพทางการเงิน , วัสดุทรัพยากร และ การบริหารจัดการ ปัจจัยภายนอก ด้านสังคมและวัฒนธรรม , ด้านเทคโนโลยี , ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านการเมืองและกฎหมาย 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา , ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ , ด้านการพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ ด้านการวัดผล ประเมินผลและการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน
Article Details
References
ดวงนภา เตปา. (2562). ศึกษาการพัฒนาคู่มือการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านท้าวบุญเรืองอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ไพรภ รัตนชูวงศ์. (2561). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูวนัย ปัฐพี. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มศรีราชา สังกัดสำนักวานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุประวีณ์ ทิพย์โพธิ์. (2563). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพฯ.
สุมาลี แก้ววิเชียร. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ ศรีคร้าม. (2559). การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนในโครงการพื้นที่พัฒนาดอยตุง. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3.
อรพินท์ พิมลมานนท์. (2562). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษามัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970, December). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.