THE ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน ตามตารางของ Krejci & Morgan สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .426-.859 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .975 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .384-.823 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .946 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียน ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามลักษณะที่เปิดสอนและขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง 4) แนวทางพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ประสิทธิภาพ 3 ด้าน คือ การวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตร ประสิทธิผล 3 ด้าน คือ คุณภาพผู้เรียน สถานศึกษา และความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
Article Details
References
แคทรียา บุตรศรีผา. (2565). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เจริญพงศ์ คงทน. (2558). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พิณสุดา สิริรังธศรี. (2564). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.
ภัทรสุดา เกิดแสง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของครูผู้สอนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ยุทธพล อุพรม. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2575. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุริดา หลังจิ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
เอื้ออังกูร ชำนาญ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.