แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย กลุ่มโซนใต้

Main Article Content

สุภาสินี มีอาหาร
สุดาพร  ปัญญาพฤกษ์
สมเกียรติ  ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการ 2) ศึกษาปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย กลุ่มโซนใต้ ประชากร ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย กลุ่มโซนใต้ จำนวน 397 คน กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 196 คน และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 20 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ  ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.50 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์การ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 2) ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจ คือ ผู้บริหารกระตุ้นและจูงใจให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ มอบหมายงานตามความถนัด ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอน มีการวัดผลประเมินผลตามเป้าหมายของสถานศึกษา กำกับติดตามสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยค้ำจุน คือ การมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถ จัดหางบประมาณ จัดอบรม ส่งเสริมสนับสนุนให้ร่วมกันจัดทำหลักสูตร การวัดผลประเมินผล กำกับติดตามกระบวนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย กลุ่มโซนใต้ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) การกำหนดทิศทางขององค์การ 2) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 3) การสร้างวัฒนธรรมองค์การ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุดาพร  ปัญญาพฤกษ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2549). การจัดการความรู้ในองค์การ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ ก๊อปปี้.

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์เขจรนันท์. (2548). ภาพรวมในยุทธศาสตร์ธุรกิจ SME. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นิลวรรณ วัฒนา. (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวีนา เหล่าลาด. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีชา จันมณี. (2556). ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา : บริษัทนำศิลป์โฆษณาจำกัด.

ยศวดี เชื้อวงศ์พรหม. (2562). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2553). การนำแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ นาวีการ. (2554). ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : อักษรไทย.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2545). กระบวนการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Robbins, S.P., & Mary, C. (2003). Management. 7thed. New Jersey: Engle wood Cliffs Prentice Hall.

Williams, B.S. (2005). A Lesson in Strategic Leadership for Service. Nurse Leader, 3(5): 25–27.