ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

สุนีย์ เหมรัตน์
อรพรรณ ตู้จินดา
ดวงใจ ชนะสิทธิ์
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ 2. ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ 3. ตรวจสอบและยืนยันโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี วิธีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุและข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์สู่ความเป็นเลิศ ระยะที่ 3 ตรวจสอบและยืนยันโมเดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 505 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ 2) โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์ เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มีอิทธิพลทางตรง ส่วนภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการความรู้ ส่วนการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอิทธิพลทางตรงและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ สำหรับการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านผู้นำมีวิสัยทัศน์ 3) การตรวจสอบและยืนยันโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาในพระราชูปถัมภ์เขตภาคกลางสู่ความเป็นเลิศ พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการจัดการความรู้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ทั้ง 6 ปัจจัยมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในทุกองค์ประกอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี



References

ชัยวัฒน์ วาทะวัฒนะ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.

บุณยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิวุธ มีพันธ์. (2559). ตัวแบบภาวะผู้นําของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมในเขตภาคเหนือตอนบน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมศรี พิมพ์พิพัฒน์. (2559). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันวิช แก้วมี. (2561). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ข้อมูลทางการศึกษา 2566. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 มีนาคม 2566). จาก http://www.bopp.go.th/?page_id=2291

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหาร ส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์.

อัครเดช ยมภักดี. (2558). รูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับสถานศึกษาระดับ การศึกษา ภาคบังคับ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Afshari, M. et al. (2012). Factors affecting the transformational leadership role of principals in implementing ICT in schools. TOJET: The Turkish Online Journal of Educational Technology, 11(4),164-176.

Eva Dhimitri, Majlinda Bello and Elda Dollija. (2012). Results based management in Albanian local governments. Case study municipality of Korca. Manager Journal, Faculty of Business and Administration, University of Bucharest, 16(1),14-23.

Hair, J. et al. (2010). Multivariate data analysis. 7thed. Upper saddle River, NJ: Pearson Education International.

Halloran. P. M. (2008). An exploratory analysis of the implementation of the Malcolm Baldrige quality framework of selected Illinois school districts: A case study of two Lincoln Foundation quality award winners. Unpublished dissertation. Illinois State University, Normal, IL.

Heyns, R. (2001). Quality Management Systems for Education and Training Providers. New York: Pearson.

Megan E. (2004). Ambrus.An Integrative Framework for an Enterprise-Wide Information and Knowledge Management System. Doctoral dissertation. University of Texas at El Paso, El Paso, TX.

Munro, B. H. (2001). Statistical methods for health care research. 4thed. Philadelphia: Lippincott & Wilkins.

Patrick, S. W. et al. (2009). Organizational Culture and Knowledge Management Success at Project and Organizational Levels in Contracting Firms. Journal of Construction Engineering and Management: American Soclety of Civill Engineers, 135(12), 1348-1356.

Steven, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences. 3rded. New Jersey: Lawrence Eribaum Associates.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics. 5thed. Boston: Pearson Education.

Zaccaro, S. J. and Banks, D. (2004). Leader Visioning and Adaptability: Bridging the Gap between Research and Practice on Developing the Ability to Manage Change. Human Resource Management, 43(4), 367-380.