ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก ต่อความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ทิพธัญญา บุญมาพล
วิไล พลพวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ระหว่างก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3ที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือแบบCIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนสะอาดผดุงศิลป์ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRCเสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.26 – 0.67และ ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.65 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ CIRC เสริมด้วยเทคนิคผังกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียววัดหลังเรียน (One Sample t –test) และแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t – test)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กําชัย ทองหล่อ. (2552. หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รวมสำส์น.

ขวัญชนก อยู่ศร. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนที่เน้นกระบวนการร่วมกับเทคนิค CIRC ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความสามารถในการเขียนสื่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

จีรนุช ภูทองเงิน, ประสพสุข ฤทธิเดช, และ ชัยวัฒน์ สุภัควรกุล. (2563). การพัฒนาการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(3), 45-53.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่14. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี. (2556). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญปารถนา มาลาทอง. (2562). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่าน และการเขียนภาษาไทย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญจวรรณ วรรณบุตร. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC ร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา (Educational research). พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

วณัฐพล สินภิบาล. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเรื่องตามจินตนาการและทักษะ การร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค CIRC ร่วมกับแผนภาพความคิด. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สมพร ซอสูงเนิน. (2558). การเปรียบเทียบการอ่านและการเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC กับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภาพร มีอาษา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Slavin, R. E. (1987). Cooperative integrated and composition. Menlo Park CA: Addison-Weasley.