การศึกษาวัฒนธรรมการใช้ภาษาในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล

Main Article Content

ชรัณ โภคสกลวาณิช
อธิชาติ บุญญยศยิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การศึกษาวัฒนธรรมการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะวัฒนธรรมการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล และการจัดลำดับความสำคัญลักษณะในการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อ ต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตบ้านด่านเก่า เทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 364 คน และวิธีการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ คือ ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เข้าไปสอบถามกับประชาชนในเขตบ้านด่านเก่า โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้รับจะนำมาวิเคราะห์ทางสถิติเป็นร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างโดยส่วนใหญ่ จะเป็นผู้หญิง คิดเป็นร้อยละ 95.33 และผู้ชาย คิดเป็นร้อยละ 4.67 จะมีอายุ 26 – 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.64 รองลงมา จะอายุ 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.37 และสุดท้าย จะอายุ ไม่เกิน 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 1.92 จะนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 94.51 รองลงมา ศาสนาคริสต์ คิดเป็นร้อยละ 4.12 และสุดท้าย จะนับถือศาสนา อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.27 จะมีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 70.88 รองลงมา อาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 15.93 และสุดท้าย อาชีพอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 0.27 จะมีสถานภาพแต่งงานแล้ว คิดเป็นร้อยละ 75.55 รองลงมา โสด คิดเป็นร้อยละ 11.81 และสุดท้าย แยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ 4.12 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 44.51 รองลงมามัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 26.37 และสุดท้าย สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 และพยัญชนะ ก-ฮ ในชื่อ ที่ชอบที่สุด เมื่อเรียงสำดับพยัญชนะ ก-ฮ 3 ลำดับแรก โดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า เป็นพยัญชนะตัวแรกในชื่อ เป็นพยัญชนะตัวแรก แสดงถึงความเป็นที่ 1 เป็นอักษรที่เชื่อว่าจทำให้โชตดี ทำให้ชื่อมีความหมายชัดเจนขึ้น มีความอิสระ และยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้เห็นว่าประชาชนในเขตบ้านด่านเก่านับถือศาสนาพุทธ แต่ก็ยังมีความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อมงคล ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชนไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงาย 2) การจัดลำดับความสำคัญลักษณะในการใช้ภาษา ในการตั้งชื่อ ต่อความเชื่อเรื่องมงคล โดยใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อตัวมงคล ในการตั้งชื่อฯ 3 ลำดับแรก พบว่า ลำดับที่ 1 คือ การตั้งชื่อที่มุ่งความหมายในทางที่ดีเป็นมงคลแก่ชีวิต แสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้รู้ หรือ นักปราชญ์ มีทรัพย์สินเงินทองหรือมีความเจริญก้าวหน้า ลำดับที่ 2 คือ การตั้งชื่อให้คล้องจองกันระหว่าพี่น้อง เพื่อแสดงถึงความไพเราะของภาษา และแสดงถึง ความผูกพันธ์ระหว่างพี่น้อง ลำดับที่ 3 คือ การตั้งชื่อโดยการนำอักษรของชื่อพ่อและแม่มารวมกัน เพื่อแสดงถึงความรักความผูกพัน ระหว่างพ่อ แม่และลูก ซึ่งทำให้เห็นว่าประชาชนในเขตบ้านด่านเก่านับถือศาสนาพุทธ เชื่อว่าการใช้พยัญชนะ ก-ฮ เป็นตัวกำหนดชื่อจะทำให้เป็นมงคลแก่ชีวิต เช่น เป็นคนเก่ง มีทรัพย์สินเงินทอง และคล้องจองกับพ่อแม่และพี่น้องเพื่อแสดงถึงความไพเราะ และผูกพันระหว่างพี่น้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญพิมลเทพไกรวัล. (2560). ลักษณะภาษาไทยในการตั้งชื่อเฟซบุ๊กของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดขอนแก่น. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 185-207.

นันทนา รณเกียรติ. (2556). สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วราลี รุ่งบานจิตและคณะ (2562). การสำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทย เชื้อสายจีนในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน. (2544). การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย. วิทยานิพนธ์ (อ.ม. (ภาษาไทย)) – มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สวพร บุญญผลานันท์ และคณะ (2560), การศึกษาวิธีการตั้งชื่อคนตามความเชื่อตามหลักทักษาปกรณ์. สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2527). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

theTSISThailand. (2564). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป. https://www.thetsis.com/post/research-tips-sampling