ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง

Main Article Content

อัจจิมา วาหะ
สุดาพร ทองสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 299 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเทียบจากตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงมีความเห็นว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีวิธีการบริหารงานที่ทำให้ครูเกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ และมีการวิเคราะห์เหตุการณ์ วินิจฉัยปัญหา คาดการณ์เหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งต่อนักเรียน สถานศึกษาควรมีการรายงานผลการส่งต่อนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง และ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง และการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษานั้นมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือครูระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกียรติพงษ์ เกิดศรี. (2557). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จันจิรา ไชยรัตน์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดุษฎี ศรีจำปา. (2557). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ทองอินทร์ อุบลชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธวัชชัย สาครสิทธิศักดิ์. (2565). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

นัฐพล หัสนี. (2565). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นิรดา ดวงเดือน. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พิชามญชุ์ ม่วงแก้ว. (2559). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศิริ โชคสกุล. (2559). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนรัตนโกสินทร์ 9 จังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุกร์เกษม ปรุงผล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สรัญญา เกิดแก้ว. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 10 มิถุนายน 2565). จาก https://myoffice.spmppr.go.th/back/data_information.php.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนหลักการแนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และผู้นำทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size For Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Sergiovanni, Thomas. (1982). Ten Principles of Quality Leadership. Educational Leadership, 39(5), 330-36.