ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 276 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ซึ่งแบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .941 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .770 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหาค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากและมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามเพศ โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามตำแหน่งครู และจำแนกตามความรับผิดชอบในการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านลักษณะงานที่ทำ (PNI_modified= 0.234) ด้านการได้รับการยอมรับ (PNI_modified= 0.223) ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน(PNI_modified= 0.214) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (PNI_modified= 0.201) และด้านความรับผิดชอบ (PNI_modified= 0.190) 4. แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ
Article Details
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน
ณัฐดนัย ไทยถาวร. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ทักษิณ มวลมนตรี. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
นฤพนธ์ คงเปี่ยม (2563). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เอส.เอ็ม.ซี. (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เนติรักษ์ มณีวงศ์วิจิตร. (2564). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรสา เพชรนุ้ย. (2560). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎรธานี เขต 2.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุราษฏร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.