แนวทางการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านป่าแดง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านป่าแดง ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในการวิจัย 59 คนแบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน7 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง จำนวน 5 คน เจ้าอาวาสและผู้นำศาสนาคริสต์จำนวน 7 คนผู้นำชนเผ่า/ผู้นำชุมชน จำนวน 6คน ประธานผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 2-มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน สภานักเรียนโรงเรียนบ้านป่าแดงจำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 59 คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้แนวคิดเรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แนวคิดทฤษฎีแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการบริหารแบบ วงจรคุณภาพ (PDCA) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าสภาพและปัญหาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านป่าแดง ไม่ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการดำเนินการที่ชัดเจนทั้งระบบ การปฏิบัติเป็นผู้ปฏิบัติรายบุคคล หรือครูผู้รับผิดชอบ ส่งผลให้การดำเนินงาน การประเมิน ตรวจสอบไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร 2) การคัดกรองนักเรียนงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง ส่งผลให้การปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขาดการวิเคราะห์ข้อมูล การดึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง มาเพื่อคัดกรองนักเรียน ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาส่งผลให้ การดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือส่งเสริม ไม่ได้รับการดำเนินการ 3) การส่งเสริมและการพัฒนา ขาดการวางแผนงานในส่งเสริมนักเรียนให้ได้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และไม่มีการตรวจ ประเมิน ให้ดีขึ้นเท่าที่ควร 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาขาดการปฏิบัติที่มีความต่อเนื่อง และประเมินผล ส่งผลให้ไม่มีแนวทางในการปฏิบัติหรือป้องกันปัญหา 5) การส่งต่อ การวางแผน การปฏิบัติงาน ไม่มีการมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนจากบุคคล ทรัพยากร หรือเครือข่ายของโรงเรียน ทำให้ทิศทางในการส่งต่อไม่ชัดเจน
Article Details
References
กระทรวงศึกษา. (2547). ปฎิรูป Ict โรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์, เสรี ใหม่จันทร์ และ ชลิดา รสวัต. (2563). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะด้านการให้การปรึกษาสำหรับครูประจำชั้นระดับประถมศึกษา เขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย(รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และ อินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. (ออนไลน์) (สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566) จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/download/141804/105047/
พุทธชาติ สร้อยสน. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือ หนองคาย. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฎิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thialand 4.0. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สันติ บูรณะชาติ. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. นครสวรรค์: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อุษา ชูชาติ, และลัดดา อินทร์พิมพ์. (2558). บทวิเคราะห์ : มุมมองด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา). วารสารวิจัยการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 3(6),1-2.