รูปแบบการบริหารองค์การคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารองค์การคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ใช้วิธีวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดย การสังเคราะห์เอกสาร ศึกษาแนวทางจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และศึกษาความต้องการจำเป็นจาก รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์และบุคลากรอื่น และผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 183 คน และ 2) สร้างและตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์จากรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มที่เป็นตัวแทนศึกษานิเทศก์และบุคลากรอื่น และผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ประธานศูนย์เครือข่ายการศึกษา จำนวน 39 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการบริหาร องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของการบริหาร องค์ประกอบที่ 3 ขอบข่ายงานและกระบวนการบริหาร องค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมินการบริหาร และองค์ประกอบที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหาร
Article Details
References
จันทร์เพ็ญ ลออรัตนาวงศ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูเกียรติ ก่อเกิด. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
โด่งสยาม โสมาภา. (2557). การวิเคราะห์ปัจจัยและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนเพื่อรับรางวัลพระราชทานคุณลักษณะ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 101-121.
ทศพล ทีฆะพร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดอุทัยธานี .วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1),85-94.
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2560). พื้นฐานการจัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชุม แรงกสิกรณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(2), 129-136.
ภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย. (2562). การศึกษาในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.tepforum.org/forum/#
วรวรรณ สังสัพพันธ์. (2560). การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุวดี อุปปินใจ และคณะ. (2565). ระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา. ขั้นพื้นฐาน ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(3), 1369-1391.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. (2565). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ประจำปีงบประมาณ 2565. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วิสต้า อินเตอร์ ปริ้นท์.