แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

Main Article Content

พีรพล ชำนาญกุล
บรรจบ บุญจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน  335 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2) การเปรียบเทียบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา     โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา       ด้านกายภาพ คือ สถานศึกษาควรมีการกำหนดนโยบายและโครงการ เกี่ยวกับการจัดแหล่งเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย เพียงพอต่อความต้องการ ด้านวิชาการ คือ สถานศึกษาควรมีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการพัฒนาตนเอง ในด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา จัดสรรสื่อให้เพียงพอและเหมาะสม ด้านสัมพันธภาพ คือ สถานศึกษาควรจัดให้มีการประชุมบุคลากรเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยใช้กระบวนการ PLC และในการมอบหมายงานแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละบุคคล และด้านการบริหารจัดการ คือ กำหนดโครงการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี มีการระดมทรัพยากร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กิ่งกนก กิณเรศ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ขวัญเรือน ภาคบุบผา. (2559). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็น ของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จิราพร เครือแวงมน. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

น้ำฝน พิทักษ์โรจนกุล. (2565). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.

นิตยา แก่นพุฒ. (2562). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของโรงเรียน กาญจนานุเคราะห์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพทูล อยู่เกตุ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เลิศทิวัส ยอดล้ำ, วิไลลักษณ์ เกตุแก้ว และจุฑาฏา เทพวรรณ. (2560). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สงกรานต์ รัตนแสงศร. (2563). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ของครูผู้สอนโรงเรียนบ้านนาวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมเกียรติ สัจจารักษ์ และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้ผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภา พัณณวดี. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(2), 147-167.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมเกษตรกรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 14 มิถุนายน 2566). จาก https://citly.me/FnhrN

สุดารัตน์ งามวิลัย. (2561). แนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตร่มเกล้า- นวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุทธิรัตน์ แช่มช้อย, โสภณ เพ็ชรพวง และสถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารงานโรงเรียนกับประสิทธิผลของการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(1), น. 119-129.

สุภาวดี ทองสำฤทธิ์. (2561). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษาตามความคิดเห็น ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.