แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 331 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ขนาดของสถานศึกษาเป็นชั้นภูมิในการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบองค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียน ด้านความพึงพอใจในการทำงาน ได้แก่ การเน้นการมีส่วนร่วมในการทำงาน กำหนดและวางแผนร่วมกัน จัดสรรบุคลากรให้เหมาะสม สร้างขวัญและกำลังใจ ด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ได้แก่ สถานศึกษาต้องกำหนดมาตรการความปลอดภัย ซ่อมแซมอาคาร ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้านสุขภาพแข็งแรง ได้แก่ ผู้บริหารส่งเสริมการออกกำลังกาย สร้างขวัญและกำลังใจ การนิเทศภายในโรงเรียน และให้มีพัฒนาการในการปฏิบัติงาน ด้านความสุขของครอบครัว ได้แก่ การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ และสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรและครอบครัว และด้านความสุขทางสังคม ได้แก่ ผู้บริหารใช้หลักธรรมาภิบาลและหลักพรหมวิหาร 4 มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กร และสร้างมาตรการการอยู่ร่วมกันในองค์กร
Article Details
References
กมลทิพย์ ใจเที่ยง. (2562). การบริหารองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์. (2557). การสร้างความผูกพันของพนักงานโดยแนวคิดองค์การแห่งความสุขในกลุ่มคน Gen-Y. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ก่อกนิษฐ์ คำมะลา. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331.
จิระภา สมัครพงษ์. (2564). องค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์) (อ้างอิงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566). จาก https://www.dailynews.co.th/article/262150.
จินดาวรรณ รามทอง. (2558). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุตามกลุ่มประสบการณ์ทำงาน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ณัฐพงษ์ น้อยโคตร. (2565). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสารคาม.
เด่นชัย อาทิตย์เจริญชัย. (2558). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนศรีบุณยานนท์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครราชสีมา: ผู้แต่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อนุพงศ์ รอดบุญปาน และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2562). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 245-257.
Manion, J. (2003). Joy at work : Creating a positive work place. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-659.