ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

กิจธนาพัฒน์ ศรีสุวรรณ์
สุรางคนา มัณยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) ศึกษาข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 149 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 138 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.62 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง .47 - .76 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และ 2) ข้อเสนอแนะการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้ (1) ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครองผู้นำท้องถิ่น มีส่วนร่วมกำหนดพันธกิจของโรงเรียน (2) ผู้บริหารควรจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และผู้เรียน ให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้จริง (3) ผู้บริหารควรเน้นย้ำให้ครูนำผลการนิเทศการสอนมาปรับปรุงการเรียนการสอน (4) ผู้บริหารควรติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนให้รู้ว่านักเรียนมีทักษะด้านต่าง ๆ และ อยู่ระดับใด เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา แก้ไขปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคล และ (5) ผู้บริหารควรส่งเสริมกิจกรรม PLC ให้ครูได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กิ่งกาญจน์ สุขสำราญ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยเกริก.

ซัมซียะห์ เมาลิดิน. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธนพัฒน์ ลิ้มไพบูลย์, นิพนธ์ วรรณเวช และ สาโรจน์ เผ่าวงศากุล. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. Journal of Roi KaensarnAcademi, 7(1), 36-48.

ปรียาภรณ์ เรืองเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เพ็ญนภา พลับฉิม, พิชญาภา ยืนยาว และ นภาเดช บุญเชิดชู. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 8(2), 86-104.

รวิภา ศรีวัตร, สุชาติ บางวิเศษ และ สุขุม พรมเมืองคุณ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 7(2), 39-51.

รอมือละ ทิพย์ร่วง. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2.สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิศวะ ผลกอง. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริพรรณ คงพานิช, ทรงเดช สอนใจ และ พนา จินดาศรี. (2565). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 283-296.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิริฉัตร รัตนสุวรรณ์ (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Chell, J. (2001). Introducing principals to the role of instructional leadership: A summary of a master’s project by Jan Chell. http://www.ssta.sk.ca/research/leadership/95-14.htm

Hallinger, P., & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behaviors of principals. The Elementary School Journal, 86(2), 217-247.

McEwan, E. K. (1998). Seven steps to effective instructional leadership. Corwin Press.

Van Deventer, I., & Kruger, A.G. (2003). An educator’s guide to school management skills. Van Schaik.