แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1

Main Article Content

พรภวิษย์ บาทขุนทด
บรรจบ บุญจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านความก้าวหน้า ผู้บริหารควรให้ความเสมอภาค การทำงานตามนโยบายของโรงเรียน ด้านความสำเร็จในการทำงาน ผู้บริหารควรกระตุ้นให้ครูรู้สึกมีคุณค่า เกิดความภูมิใจในตนเอง ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง ให้ครูทำงานอย่างมีอิสระด้านเงินเดือน ผู้บริหารควรจัดให้มีกองทุนประจำโรงเรียน ขอสวัสดิการบ้านพักจากหน่วยงานต้นสังกัด  ด้านลักษณะของงาน มีการประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียด จัดสรรงบประมาณให้ตรงกับลักษณะงานของครู ด้านการปกครองบังคับบัญชา ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ครูปฏิบัติตามวุฒิการศึกษา  ทักษะ และประสบการณ์ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้บริหารควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เป็นบุคคลที่ยืดหยุ่นไม่ยึดกฎและระเบียบมากเกินไป ด้านสภาพการทำงาน ผู้บริหารควรจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม จัดอบรมให้ครูและนักเรียนมีทักษะการดูแลตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยณรงค์ ใจเกลี้ยง และอนุศักดิ์ ห้องเสงี่ยม. (2561). แรงจูงใจและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(1), 83-102.

ฐิตาภัทร์ ทุทุมมา. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายบิวตี้แอนด์เซลล์ กรณีศึกษาบริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนกฤต ศาสตราโชติ. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูเอกชน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธนพรรธ อนุเวช. (2564). แนวทางการสร้างเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ปพิชญา ศรีจันทรา. (2563). แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พชรวิทย์ จันศิริสิร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครู ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 146.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด). (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน เทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มนัสนันท์ มีทรัพย์ทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ชัยภูมิ: กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. (2566). อัตรากำลัง จำนวนโรงเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ชัยภูมิ: กลุ่มบริหารงานบุคคล.

สุคณางค์ อารยพัฒน์มงคล และพรเทพ รู้แผน. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ในการทำงานกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 17-24.

อัญภิชา ลี้เจริญรักษา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.