กลยุทธ์การบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านขาแหย่งพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

กัญญารัตน์ ตาโม่ง
พูนชัย ยาวิราช
ไพรภ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารจัดการ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ และ 3) นำเสนอกลยุทธ์การบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยมีประชากร จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการประชุม  สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ นำเสนอในรูปแบบตารางและความเรียง ผลการศึกษาพบว่า


  1. สภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารจัดการ โดยภาพรวม ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับระดับมากที่สุด

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ พบว่า ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ส่งผลต่อการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาทั้งหมด

3. กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ โดยใช้เทคนิคการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ AIC (Appreciation Influence Control ) แยกเป็นรายด้านตามขั้นตอนการบริหารจัดการ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การจัดการองค์กร ขั้นตอนที่ 3 การบังคับบัญชาสั่งการ ขั้นตอนที่ 4 การประสานงาน และขั้นตอนที่ 5 การควบคุม ที่ครอบคลุมด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 วิสัยทัศน์ ด้านที่ 2 พันธกิจ ด้านที่ 3 เป้าประสงค์ ด้านที่ 4 กลยุทธ์ และด้านที่ 5 โครงการ/กิจกรรม

Article Details

How to Cite
ตาโม่ง ก., ยาวิราช พ., & รัตนชูวงศ์ ไ. (2025). กลยุทธ์การบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียน บ้านขาแหย่งพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 17–33. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278029
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัย. กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (4 มกราคม 2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

กัมปนาท นาคบัว. (2565). การศึกษาแนวทางการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต1. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีรยุทธ เมืองแมน และคณะ. (2566). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(11), 255.

บวรศักดิ์ สาลีฉันท์. (29 ธันวาคม 2567). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. https://www.obec.go.th/archives/953347

บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (9 สิงหาคม 2567). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

โรงเรียนบ้านขาแหย่งพัฒนา. (2567). แผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2567.

วิทยา อยู่แจ่ม. (2567). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานแนวทางการพัฒนาการบริหารงานด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2556). คู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 (พิมพ์ครั้งทื่ 1). พริกหวานกราฟฟิค.

อดิศร ดีปานธรรม . (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

อำพัน เรืองศรี. (29 ธันวาคม 2567). การวางแผนกลยุทธ์ระดับสถานศึกษา.https://www.gotoknow.org/posts/30723