การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

Main Article Content

สุภาพร พรมนาม
อำนวย มีราคา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน           2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบหาความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธี Least – Signifant Different (LSD)  ผลการวิจัยพบว่า  1) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.32) เมื่อพิจารณารายด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล  2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ที่มีตำแหน่งและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
พรมนาม ส., & มีราคา อ. (2025). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอรัตนวาปี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 7(1), 161–169. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JAPDEAT/article/view/278103
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2550). ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ทิวาพร อยู่เย็น. (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. http://www.edujournal.ru.ac.th /index.php/abtractData/viewIndex/1992.ru.

ธนุ วงษ์จินดา. (2567). บันทึกการประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. http://www.obec.go.th/ archives/1067067.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

วิชัย ลาธิ และ สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดํารงอยู่ได้ด้วยตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(12), 85-100.

ศศิวิมล คนเสงี่ยม. (2564). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (2567). ข้อมูลจำนวนครูและบุคลากรในสังกัด. https://www.smart.nongkhai2.go.th/teacher.

อมลภา ปิ่นทอง. (2566). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 24(1), 309-318.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.